Last updated: 1 มิ.ย. 2566 | 883 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความ เลือกซื้อเตียงผู้ป่วย อย่างไรดี?
1.พิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้งาน
2.เตียงผู้ป่วยทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิมได้ง่าย สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 150 Kg เป็นต้นไป มีความแข็งแรง
3.มีระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ราวข้างเตียง หรือ ระบบล็อกล้อเตียง
4.ความยาวของเตียงผู้ป่วยโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความยาวที่พอเหมาะ และไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
5.ความสูงของเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ดีนั้น ควรสูงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ เมื่อเวลาลุกขึ้นนั่ง เพื่อที่จะยืน หรือทำกิจกรรมใด ๆ จะได้วางเท้าถึงพื้นพอดี
6.ความสวยงาม ก็เป็นสิ่งสำคัญ เตียงผู้ป่วยที่มีความสวยงาม จะทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่รู้สึกหดหู่ และเหมาะเป็นเฟอร์นิเจอร์ สำหรับตกแต่งภายในบ้าน
7.ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าต้องมีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (อย.)
8.โรงงานผู้ผลิตได้รับมาตรฐานการผลิตจาก อย. หรือมาตรฐาน ISO 13485 (มาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์) มีมาตรฐาน IEC 60601-2-38 (มาตรฐานเตียงผู้ป่วย) หรือ IEC 60601-2-52 (มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้งาน)
เตียงแต่ละไกร์ แตกต่างกันอย่างไร
เตียง 1 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง
เตียง 2 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง และท่าชันเข่า
เตียง 3 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า และระดับความสูง – ต่ำของเตียง
เตียง 4 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง และท่าหัวสูง – เท้าต่ำ
เตียง 5 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง – ต่ำของเตียง ท่าหัวสูง – เท้าต่ำ และท่าหัวต่ำ – เท้าสูง
เตียงไฟฟ้าดีกว่ามือหมุนเตียงผู้ป่วยมือหมุนอย่างไร
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า จะช่วยเบาแรง ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งขึ้นโดยการปรับท่าผ่านรีโมทคอนโทรล หรือแผงควบคุม ซึ่งแตกต่างจากเตียงธรรมดาที่ผู้ป่วยไม่สามารถปรับเตียงได้ด้วยตนเอง
เตียงไฟฟ้าจะช่วยเบาแรง ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งขึ้นโดยการกดที่สวิท ไม่ต้องออกแรงยกเตียง
มีกลไก หลายกลไก ทำให้เราปรับได้อย่างยืดหยุ่น
เตียงที่ปรับท่าต่างๆด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และ ควบคุมการปรับท่าผ่านรีโมทคอนโทรล
เหมาะสำหรับการนอนพักฟื้น ซึ่งเตียงไฟฟ้าออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดีส่งผลต่อผู้นอน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการของแผลกดทับ
เตียงไฟฟ้า จะช่วยให้ผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายมากขึ้น
ดังนั้น การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุระหว่างการพักฟิ้น เช่น การรับประทานอาหาร การที่เตียงไฟฟ้าสามารถปรับระดับได้นั้น ก็จะทำให้สามารถลุกขึ้นนั่งได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องออกแรง ไม่ต้องหาอุปกรณ์มาดันหลังเพื่อทรงตัวหรือให้ผู้ดูแลคอยพยุงให้นั่ง และยังอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแล้ว การใช้เตียงไฟฟ้ายังช่วยลดภาระของผู้ดูแลได้มาก
14 มิ.ย. 2565
2 มิ.ย. 2566
24 ก.พ. 2565
15 มิ.ย. 2565