Last updated: 14 ก.พ. 2566 | 1111 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะ DKA (Diabetic Ketoacidosis) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน แต่เดิมพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน(เบาหวานชนิดที่หนึ่ง) ปัจจุบันพบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ของโรคเบาหวาน ภาวะ DKA เป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ดังนั้นผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจถึงภาวะนี้ อาการ ปัจจัยเสี่ยงและทราบถึงอันตราย เพื่อเตรียมตัวรับมือและหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสมได้
อาการที่บ่งชี้ว่ากำลังเกิดภาวะ DKA
ผู้ป่วยจะมีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ รวมกับ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลียไม่มีแรง หอบเหนื่อย ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นมากขึ้นจะมีอาการสับสน อาจเกิดภาวะช็อค หมดสติ และตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มก. ต่อดล. ต้องระวังในผู้ป่วยที่กินยาเบาหวานบางกลุ่มอาจเกิดภาวะ DKA ได้ที่ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 250 มก. ต่อดล.
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ DKA
ภาวะ DKA เกิดจากปัจจัย 3 อย่าง รวมกัน ได้แก่
ภาวะขาดฮอร์โมนอินซูลิน เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน หรือในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่เป็นโรคมานาน ตับอ่อนหลั่งอินซูลินลดลง จำเป็นต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ เมื่อผู้ป่วยหยุดฉีดอินซูลิน อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ DKA ได้
มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ การผ่าตัด อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือได้รับยาบางชนิดที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น ยาสเตียรอยด์
ขาดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต คือ การได้รับอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลไม่เพียงพอ ซึ่งอาจพบได้ในภาวะ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืองดน้ำงดอาหารเพื่อเตรียมตัวผ่าตัด
Diabetic ketoacidosis (DKA) เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ และมีภาวะเครียดของร่างกาย โดยหากมีอาการแนะนำให้รีบพาผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ DKA การปฏิบัติตัวยามเจ็บป่วย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ดังนั้นคนที่เสี่ยง หรือคนที่ดูแลสุขภาพควรมั่นตรวจเช็คและดูแลควบคุมอาอาหารตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไอเทมที่เราต้องมีคือ อีบีคีโตน เครื่องวัดระดับภาวะคีโตนในเลือด เป็นชุดเครื่องตรวจคีโตนในเลือด eBketone ใช้ตรวจหาค่าภาวะคีโตซิสในเลือด
ใช้เลือดน้อยเพียง 0.5 ไมโครลิตร
บอกผลลัพธ์ภายใน 10 วินาที
หน่วยความจำ 180 ค่า
น้ำหนักตัวเครื่อง 70 กรัม
ขนาดตัวเครื่อง 85 x 60 x 21 มม.
วิธีการใช้งาน
1 ใส่แผ่นตรวจ
2 หยดเลือดใส่แผ่นตรวจ
3 รอผลลัพธ์ภายใน 10 วินาที
ในชุดประกอบด้วย
1.ตัวเครื่อง eBketone 1 เครื่อง
2.ปากกา Lancet 1 อัน
3.แผ่นตรวจ Test Strip 10 แผ่น
4.เข็มเจาะเลือด 10 อัน
5.แผ่นโค้ด 1 แผ่น
6.ถ่านอัลคาไลน์ ขนาด AAA/2 ก้อน
7.คู่มือการใช้งาน
8.ใบรับประกัน
9.กระเป๋าจัดเก็บอุปกรณ์ มีชิปรูด
หมายเหตุ
รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
มาตรฐานสากล
CE , ISO 15197:2015, ISO 13485:2016
14 มิ.ย. 2565
15 มิ.ย. 2565
2 มิ.ย. 2566
24 ก.พ. 2565