การอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยติดเตียง

Last updated: 14 ก.พ. 2566  |  802 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยติดเตียง

คำว่า ผู้ป่วยติดเตียง ในทางการแพทย์ หมายถึง ผู้ป่วยที่ร่างกายเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งอาจขยับตัวได้บ้างแต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอื่น ๆ ได้เลย โดยสาเหตุของการเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นอาจมีได้มากมายไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ ไปจนถึงโรคประจำตัวก็ได้เช่นกัน และผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงนั้นก็มีมากมาย ในบางกรณีอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยก็คือ เกิดแผลกดทับ มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น และเนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการฟื้นฟูร่างกายได้มากนัก จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ

ผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง นับเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด เราจึงต้องดูแลท่านอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ วิธีการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงในสถานการณ์นี้ ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ

- แยกห้องนอนกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดตียง

- แยกของใช้ส่วนตัวของผู้สูงอายุไว้ต่างหาก และ หมั่นทำความสะอาดของใช้เท่านั้น

- เว้นระยะห่างจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง อย่างน้อย 2 เมตร

- ทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสร่วม อาทิ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ บ่อยๆ

- หมั่นคอยสังเกตุอาการท่าน คอยวัดอุณหภมิร่างกายทุกวัน

- ที่สำคัญอย่าลืมดูแลจิตใจท่านด้วย โดยการโทรศัพท์ หรือ VDO Call ไปพูดคุยกัยท่านอย่างสม่ำเสมอ


กรณีดูแลผู้สูงอายุ

- ใช้ผู้ดูแลเพียงคนเดียว ไม่เปลี่ยนคน

- ควรเป็นคนที่อยู่ติดบ้าน ติดต่อคนภายนอกน้อยที่สุด

- สวมหน้ากากอนามัย ถุงมือทุกครั้ง ที่พยาบาลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย

- ผู้สูงอายุที่หายใจลำบากหรือว่าช่วยตนเองไม่ได้ ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยให้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้